top of page
ค้นหา

ท้าทายตัวเองโดยการลองสิ่งใหม่ กับ Forum Theatre & Invisible Theatre

ในฐานะ ครู โค้ช เทรนเนอร์ ต้องใช้พลังอย่างมากในการ

ทำงานกับตัวเอง และ ทลายกำแพงตัวเอง ในการที่จะเป็นตัวเองได้ในทุกๆบริบท  ไม่ใช่แค่เฉพาะพื้นที่ ที่เป็น comfort zone 

ครูใช้เทคนิคในการท้าทายตัวเองให้ลองส่ิงใหม่ๆ ที่ตัวเองไม่เคยทำอยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาทักษะ agility ของตัวเอง และ ที่สำคัญคือการเปิดประสบการณ์ใหม่ เจอผู้คน เรียนรู้จากผู้คนให้เยอะที่สุด เพราะนั่นคือพื้นฐานที่สำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจตัวเอง และ การเข้าใจตัวเองของโค้ช ก็จะทำให้โค้ชวางตัวเองลงได้ ในขณะที่ต้องโค้ช เพราะเราจะมองเห็นคุณค่าในตัวของผู้เรียนในฐานะครู เราจะมองเห็นศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวของทีมงานในฐานะผู้นำ เราจะมองเห็น และ ได้ยิน ความในใจที่ซ่อนอยู่ของโค้ชชี เราจะวางตัวเองลงไม่ได้เลย หากเราไม่รู้จัก และ เข้าใจตัวเอง 


ภาคการศึกษาแรกของการเรียน ป.เอก หนึ่งในสิ่งใหม่ที่ได้ลองก็คือ การเรียนรู้กระบวนการละครแทรกสด “Forum Theatre” ที่ทางภาควิชาการศึกษานอกระบบจัดให้สำหรับนิสิตปริญญาเอก




กระบวนการละครแทรกสด(Forum Theatre) เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มละครของผู้ถูกกดขี่(Theater of the oppressed ) ในฐานะของเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม เมื่อตอนที่ได้เรียนรู้เป็นครั้งแรก รู้สึกว่าเป็นกระบวนการที่น่าสนใจ และ 

เป็นประโยชน์มากๆ มันเป็นการเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้แสดงความคิดเห็น แบบที่ไม่รู้สึกอึดอัด หรือ ตะขิดตะขวงใจผ่านตัวละคร ประเด็นเหตุขัดแย้ง ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม หลายๆครั้งมันก็แค่มองต่างมุม หากมีพื้นที่ในการทำความเข้าใจ เรียนรู้ เปิดมุมมอง เปิดใจให้กับมุมมองที่แตกต่าง มันก็คงจะดีไม่น้อย 



วันนั้นในคลาสเรียน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการ แต่ยังไม่ได้เป็นผู้เล่น เลยทิ้งท้ายกับกลุ่มวิทยากรจาก Community D ไว้ว่า เมื่อไหร่มีเล่น แล้วต้องการตัวละครอาสา ให้บอกครูมาได้เลย

อยากไปลอง และ เรียนรู้ 


และแล้ววันนั้นก็มาถึง ได้รับการติดต่อจาก Community D เป็นเล่น Forum Theatre ในงานวิ่งไม่เทรวม ซึ่ง เป็นงานวิ่งที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสื่อสารงานสิ่งแวดล้อมในกทม. ช่วงเช้าเป็นกิจกรรมงานวิ่ง ซึ่งมี 2 ระยะ คือ 3 กิโลเมตร และ 10 กิโลเมตร (ภายใต้พื้นที่สวนจตุจักร สวนวชิรเบญจทัศ และสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์)    ช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมนิทรรศการ “มือวิเศษต้องไม่เทรวม” เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมข้อมูลอันเป็นประโยชน์ด้านการจัดการขยะ โดยมีไฮไลท์ของงานคือ การรวมตัวของกลุ่มเคลื่อนไหวด้านจัดการขยะ (Active Citizen) ใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร และอาสาสมัครทูตสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร นำโดย “ทูตมือวิเศษกรุงเทพ”       แอนนา เสืองามเอี่ยม มิสยูนิเวอร์สไทยแลนด์ 2022 นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมของ สำนักสิ่งแวดล้อม ที่จะมาให้คำแนะนำต่างๆ หากต้องการร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ในโครงการด้านการจัดการขยะ




ตอบตกลงไปแล้วก็ได้ไปซ้อมร่วมกับทีม ความจริงแล้วการทำงานร่วมกับคนที่ไม่เคยรู้จัก หรือ แม่กระทั่งการออกไปเจอคนที่เราไม่รู้จักมาก่อน ก็เป็นความท้าทายอย่างมากของครูเจนเมื่อหลายปีก่อน จนเราได้เรียนรู้เรื่องของ คุณค่า ความเชื่อ ว่าจริงๆแล้ว คนเราทุกคนสามารถเชื่อมโยง และ มีปฏิสัมพันธ์กันได้ง่ายมากเลย หากเรายึดถือ Value เดียวกัน และ มีความเชื่อไปในทิศทางเดียวกัน และ ยิ่ง Purpose ของเราชัดเจนมันก็จะนำพาเราไปสู่กลุ่มคนที่ใช่ และ กล้าทำในสิ่งที่เราไม่คิดว่าเราจะทำ เพราะเรารู้ว่าเป้าหมายที่แท้จริงของเรา ไม่ใช่การยอมรับจากคนอื่น แต่เป็นการยอมรับตัวเอง และ เดินตาม purpose ของเรา และแม้ว่าเราจะยังไม่รู้ว่า purpose ของเราคืออะไร คุณค่า และ ความเชื่อ ก็ยังจะพาเราในจุดที่เรา happy อยู่ดี และนี่คือบรรยากาศการซ้อมที่วันจริงไม่ได้ใช้ เพราะมีปัจจัยบางอย่างทำให้เราต้องปรับแผน






เราเปลี่ยนแผนจาก Forum Theatre เป็น Invisible Theatre ละครล่องหน อันนี้ก็เป็นความรู้ที่ใหม่มากๆ ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยลอง ไม่เคยทำ 


ก่อนจะเล่าต่อไปขอแบ่งปันความหมายของ Invisible Theatre  สักเล็กน้อย (ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต) 


Invisible Theatre เป็นเทคนิคหนึ่งของละครผู้ถูกกดขี่ (Theatre of the Oppressed) 


พัฒนาขึ้นโดยออกุสโต บูอาล (Augusto Boal) นักการละครชาวบราซิล แสดงเพื่อนำเสนอความอยุติธรรมในชีวิตประจำวันเป็นฉากสถานการณ์สั้น ๆ ในที่ที่คนไม่คาดคิดว่าจะได้พบเห็นการแสดง เช่น รถไฟฟ้า เป็นต้น มักไม่ให้ผู้พบเห็นรู้ว่าเป็นการแสดง ซึ่งจะนำพาผู้พบเห็นไปสู่สถานการณ์ที่ไม่ได้กำหนดไว้และสมจริง เพื่อ กระตุ้นให้ตระหนักถึงความไม่เป็นธรรมที่เราอาจเห็นว่าเป็น   "ปกติ"" ผ่านการแสดงที่กระชับฉับพลัน และสังเกต ปฏิกิริยาของผู้คนในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้น ละครล่องหนจึงไม่ใช่การเล่นแกล้งกันด้วยความคึก คะนอง (Pranks) ปฏิบัติการละครล่องหนยังสามารถนำพาไปสู่การข้ามบทบาทของกันและกัน : นักแสดงในฐานะตัวละครจะดึงดูดผู้พบเห็นเหตุการณ์ให้พูดหรือ/และ กระทำาการบางอย่างกับความไม่เป็นธรรมที่พบเห็น ไม่มีผู้ชมที่นั่งดูเฉย ๆ (spectator) มีแต่ผู้ชมนักปฏิบัติการ (spec-actors) ทุกคนกลายเป็น “คนใน” สถานการณ์ เชื่อม...โลกของนักแสดงและผู้ชม : เส้นแบ่งบทบาทของนักแสดงและผู้ชมถูกลบไป พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ถูก สถาปนาขึ้นใหม่โดยนักแสดงและประชาชนที่มาจากที่ต่าง ๆ พร้อม ๆ ไปกับการท าลายความศักดิ์สิทธิ์ของตัวมัน เอง เกิด ""พื้นที่สาธารณะ"" ที่ทุกคนมารับรู้ถึงความไม่เป็นธรรมในสถานการณ์รวมกัน เผชิญหน้า...กับทุกเสียง : การปะทะกันของความต้องการภายในใจที่อยากส่งเสียงแต่ก็กลัว การปะทะของ ชุดความคิดที่แตกต่างกัน ผู้คนอาจมีอาการอึดอัดอย่างเห็นได้ชัด มีทั้งคนหลีกหนี นิ่งเงียบ และก่นด่า เนื่องจากโลก สัจนิยมของทุน (capitalist realism) อันเป็นพื้นที่ปลอดภัย (Safe Zone) ของพวกเขาก าลังถูกท าให้มีรอยแยก ของทางเลือกใหม่ ๆ ณ จุดตัด...โลก (สัจนิ)





วันนั้นครูรับบทเป็น แฟนสาวคนหนึ่งที่ไปเดินสวนสาธารณะกับแฟน แล้วทะเลาะกันใหญ่ต่อ เรื่องแฟนของครูไม่ใช้กล่องพลาสติก และ ไม่แยกขยะ เราแสดงทั้งหมด 3 จุดด้วยกัน แต่ละครั้งได้เห็นมุมมองของผู้พบเห็นต่างกัน มีผู้พบเห็นท่านหนึ่งบอกว่า : ผู้หญิงดูควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้เลย เรื่องเล็กน้อยเอง สงสารผู้ชายผู้พบเห็นเหตุการณ์ท่านที่ 2 : อย่าทะเลาะกันเลย ทะเลาะกันไปก็ไม่มีประโยชน์ เดี๋ยวมันก็ถูกเทรวมกันอยู่ดี 


ผู้พบเห็นเหตุการณ์คนที่ 3 : ตลาดสด ไม่สามารถแยกขยะได้ ต้องเทรวมกันเท่านั้น มันก็เป็นแบบนี้ ที่ตลาดสดต้องเป็นแบบนี้ เรื่องแยกขยะ และ หลีกเลี่ยงการใช้พลาสติก เป็นเรื่องเล็กน้อยจริงหรือ? 

ผู้หญิงมักจะถูกมองว่าเป็นฝ่ายจู้จี้ และ เรื่องเยอะ จริงหรือไม่? เราควรปล่อยมันไปเพราะว่าทำไปก็ไม่มีประโยชน์จริงๆใช่ไม๊? 


สิ่งที่มันเป็นอยู่ ที่ดูมีความหวังเพียงเล็กน้อยในการแก้ไข เราควรจะปล่อยให้มันเป็นไป หรือ  ร่วมมือกันคนละไม้คนละมือ อย่างไหนจะดีกว่ากัน? 


ขอบคุณทุกคน ที่มาเป็นครูของครูอีกที และ เปิดพื้นที่ให้ท้าทายตัวเองให้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ รวมทั้งให้โอกาสในการทำสิ่งๆดีเพื่อสังคม แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย ขอบคุณผู้อ่าน ที่อ่านมาถึงตรงนี้ หากมีเรื่องราวดีๆ ที่อยากแชร์ และ อยากแบ่งปัน ยินดีเป็นอย่างมาก 



ครูเจน 

ครูผู้ประกอบการ

“เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเริ่มที่ตัวเรา”


ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page