top of page
ค้นหา

ลูกไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ใช่ว่าเป็นเด็กดื้อ


ขอท้าวความจากสาม blog ที่แล้ว เราได้แนะนำความรู้เกี่ยวกับทักษะสมองตัวสำคัญสำหรับการพัฒนาความคิด อารมณ์ และจิตใจของเด็ก ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานให้กับทักษะศตวรรษที่ 21 ที่นักวิชาการมักพูดถึงกัน ทว่า blog นี้จะมาพิจารณาปัญหาของลูกที่มักจะไม่ให้ความร่วมมือ ดึงดันทำวิธีของเขาเท่านั้น ไม่ฟังใคร เหล่านี้ไม่ใช่อาการของเด็กดื้อเสมอไป ลูกอาจเพียงแต่ขาดการพัฒนาทักษะ EF


ทักษะ EF ตัวนี้เรียกว่า “ยืดหยุ่นความคิด” ซึ่งก็คือความสามารถในการปรับตัวกับงานใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว และยังเปลี่ยนแปลงมุมมอง ทัศนคตินั่นเอง ถ้าลูกพัฒนา EF ด้านนี้น้อยมันจะทำให้น้องไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งต่างๆ และยังติดอยู่ในวิสัยทัศน์เก่าๆ คิดอะไร มองอะไรในกรอบแคบๆ และมักจะถูกมองว่าหัวแข็งบ้าง ไม่ให้ความร่วมมือบ้าง อาจถึงกับไม่น่าคบหาเลยเชียว




กิจกกรมแนะนำวัย 3-6 ปี

สร้างความมั่นใจด้วยการจัดกิจวัตร

  1. จัดกิจวัตรประจำวันที่ชัดเจน เป็นลำดับ มีความสม่ำเสมอ ให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ของเด็ก

  2. เมื่อเด็กเคยชินกับการรับผิดชอบตนเอง รู้จักการลำดับความคิดและการการทำ รู้ว่าจะต้องทำอะไร อย่างไร เมื่อไร่ ที่ไหน เด็กจะได้ค้นพบความสามารถของตนเองที่เพิ่มพูนขึ้นทุกวัน เพราะยิ่งทำยิ่งชำนาญ ทำได้คล่องแคล่วขึ้น เด็กจะพบว่าสามารถที่จะดูแลตนเองได้ ไม่ติดการพึงพิง มีความมั่นใจในตนเอง

  3. เพิ่มกิจกรรมให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน จัดการ และเลือก เช่นกิจกรรมจิตอาสา

  4. ไตร่ตรองกับลูกเป็นประจำว่าชอบกิจกรรมไหน ขอบคุณที่ลูกกล้าลองสิ่งใหม่ๆ ช่วยเหลือตัวเองและคนอื่นๆ ได้อีกด้วย

มีกิจกรรมมากมายบนโลกใบนี้ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยในการพัฒนาทักษะ EF ของเด็กๆ ถึงกระนั้นประสิทธิผลล้วนขึ้นอยู่กับ HOW มากกว่า WHAT ติดตาม blog ของเราเพื่อเรียนรู้ไปด้วยกันว่าเราจะช่วยให้ลูกมีอนาคตการศึกษาที่สดใส style ฟินแลนด์ได้อย่างไร

ถ้าเด็กที่โตแล้วก็แลดูประสบปัญหาไม่ร่วมมือกับคนอื่นๆ ไม่ต้องไปหาทักษะศตวรรษที่ 21 ให้ไกลเลยคะ เริ่มที่กิจกรรมพัฒนา EF

ดู 19 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page